ความเป็นพันธมิตร
ข้อตกลงของรัฐต่าง ๆ ที่จะให้การสนับสนุนกันและกันทางด้านการทหาร ในกรณีที่มีการโจมตีต่อสมาชิกใดสมาชิกหนึ่ง หรือเพื่อจะเสริมสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ความเป็นพันธมิตรกันนี้อาจจะเป็นแบบทวิภาคีหรือแบบพหุภาคี แบบลับหรือแบบเปิดเผย แบบง่ายหรือแบบที่มีการจัดการอย่างดี แบบระยะสั้นหรือแบบระยะยาว แบบที่ใช้ป้องกันสงครามหรือแบบมีชัยในสงคราม ระบบดุลอำนาจมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนให้มีการลงนามในกติกาสัญญาเป็นพันธมิตรทางทหารกัน เพื่อสร้างภาวะสมดุลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสมการอำนาจเกิดขึ้น กฎบัตรสหประชาชาติได้ให้การรับรองในสิทธิ "ป้องกันตนเองร่วมกัน” ไว้ในมาตรา 51
ความสำคัญ มีพันธมิตรหลายกลุ่มในทุกวันนี้ ที่ได้ขยายตัวไปเป็นองค์การระดับภูมิภาค เพื่อให้ความร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริหาร การระงับข้อพิพาท ตลอดจนถึงการทหาร ระบบความเป็นพันธมิตรแบบหลากหลายหน้าที่ ได้แก่ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต)องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ (ดับเบิลยูทีโอ) หรือองค์การอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น สันนิบาตอาหรับ องค์การเอกภาพแอฟริกา (โอเอยู) และองค์การรัฐอเมริกา (โอเอเอส) จะมีมาตรการเรื่องพันธกรณีด้านความมั่นคงร่วมกัน แต่ทว่ามาตรการเหล่านี้จะมุ่งผลทางการเมืองมากกว่าผลทางการทหาร ในขณะที่ความเป็นพันธมิตรกันนี้อาจจะช่วยสร้างความรู้สึกปลอดภัย และให้การป้องปรามต่อการรุกรานได้ก็จริง แต่ก็อาจจะเป็นเหตุให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศ และมีการรวมกลุ่มพันธมิตรอื่นขึ้นมาต่อต้านได้ การแข่งขันระหว่างกลุ่มพันธมิตรต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะแข่งขันกันด้านอาวุธจนทำให้เกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมาบ่อย ๆ และบางครั้งก็ทำให้เกิดสงครามได้ด้วย ระบบความเป็นพันธมิตรกัน ที่ทำหน้าที่เป็นกลไกแห่งดุลอำนาจ มีแนวโน้มว่าจะคงอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการสถาปนาระบบความมั่นคงร่วมกันในระดับสากลขึ้นมาได้อย่างมีประสิทธิผล
English-Thai Dictionary of War and Military Policy
พจนานุกรมศัพท์สงครามและนโยบายทางการทหาร:รวบรวมและเรียบเรียงโดย พลเรือตรี รศ. ทองใบ ธีรานันทางกูร
Sunday, October 18, 2009
Alliance : Act of Chapultepec
ความเป็นพันธมิตร : รัฐบัญญัติชาพุลเตเพ็ก
มติที่รัฐต่าง ๆ ในทวีปอเมริกายอมรับว่า การโจมตีใด ๆ ต่อรัฐหนึ่งรัฐใดในหมู่ตน โดยรัฐหนึ่งรัฐใดที่อยู่ในซีกโลกนี้ หรือโดยรัฐใดรัฐหนึ่งที่มิได้อยู่ในซีกโลกนี้ ให้ถือว่าเป็นปฏิบัติการรุกรานต่อทุกรัฐในหมู่ตน รัฐบัญญัติชาพุลเตเพ็กนี้ ได้มีการลงนามกันที่กรุงเม็กซิโกเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ.1945 โดยผู้แทนของสาธารณรัฐต่าง ๆ ในทวีปอเมริกา รวม 21 รัฐด้วยกัน คำประกาศหรือปฏิญญาที่ว่านี้ เป็นการกรุยทางไปสู่สนธิสัญญาริโอ ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปี ค.ศ. 1947 สนธิสัญญาฉบับนี้ กำหนดให้มีบทลงโทษและให้มีการปฏิบัติการในระดับภูมิภาค หากมีรัฐใดรัฐหนึ่งในทวีปอเมริกา หรือที่มิได้อยู่ในทวีปอเมริกา ได้ทำการรุกรานรัฐใดรัฐหนึ่งในทวีปอเมริกานี้
ความสำคัญ รัฐบัญญัติชาพุลเตเพ็กนี้ ส่งผลให้มีการขยายหลักนิยมมอนโรในส่วนของหลักประกันฝ่ายเดียวที่ประกันมิให้มีการแทรกแซงเข้าไปในทวีปอเมริกา ออกไปเป็นระบบที่ให้ร่วมกันตอบโต้ต่อการรุกรานจากภายนอก หรือจากภายในซีกโลกตะวันตกนี้ รัฐบัญญัตินี้เป็นผลมาจากความริเริ่มของสหรัฐอเมริกาที่จะให้หลักประกันว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติที่จะจัดตั้งขึ้นมานั้น จะต้องไม่มาห้ามรัฐต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาจากปฏิบัติการร่วมกันเกี่ยวกับความมั่นคงของซีกโลกตะวันตกนี้
มติที่รัฐต่าง ๆ ในทวีปอเมริกายอมรับว่า การโจมตีใด ๆ ต่อรัฐหนึ่งรัฐใดในหมู่ตน โดยรัฐหนึ่งรัฐใดที่อยู่ในซีกโลกนี้ หรือโดยรัฐใดรัฐหนึ่งที่มิได้อยู่ในซีกโลกนี้ ให้ถือว่าเป็นปฏิบัติการรุกรานต่อทุกรัฐในหมู่ตน รัฐบัญญัติชาพุลเตเพ็กนี้ ได้มีการลงนามกันที่กรุงเม็กซิโกเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ.1945 โดยผู้แทนของสาธารณรัฐต่าง ๆ ในทวีปอเมริกา รวม 21 รัฐด้วยกัน คำประกาศหรือปฏิญญาที่ว่านี้ เป็นการกรุยทางไปสู่สนธิสัญญาริโอ ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปี ค.ศ. 1947 สนธิสัญญาฉบับนี้ กำหนดให้มีบทลงโทษและให้มีการปฏิบัติการในระดับภูมิภาค หากมีรัฐใดรัฐหนึ่งในทวีปอเมริกา หรือที่มิได้อยู่ในทวีปอเมริกา ได้ทำการรุกรานรัฐใดรัฐหนึ่งในทวีปอเมริกานี้
ความสำคัญ รัฐบัญญัติชาพุลเตเพ็กนี้ ส่งผลให้มีการขยายหลักนิยมมอนโรในส่วนของหลักประกันฝ่ายเดียวที่ประกันมิให้มีการแทรกแซงเข้าไปในทวีปอเมริกา ออกไปเป็นระบบที่ให้ร่วมกันตอบโต้ต่อการรุกรานจากภายนอก หรือจากภายในซีกโลกตะวันตกนี้ รัฐบัญญัตินี้เป็นผลมาจากความริเริ่มของสหรัฐอเมริกาที่จะให้หลักประกันว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติที่จะจัดตั้งขึ้นมานั้น จะต้องไม่มาห้ามรัฐต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาจากปฏิบัติการร่วมกันเกี่ยวกับความมั่นคงของซีกโลกตะวันตกนี้
Alliance : ANZUS Pact
ความเป็นพันธมิตร : กติกาสัญญาแอนซัส
สนธิสัญญาความเป็นพันธมิตรแบบไตรภาคีที่ได้ลงนามกันเมื่อ ค.ศ. 1951 โดยประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เพื่อพิทักษ์ความมั่นคงของภาคพื้นแปซิฟิก สนธิสัญญานี้ ซึ่งยังมีผลบังคับใช้อย่างไม่มีกำหนดเวลา มีข้อกำหนดไว้ว่า การโจมตีต่อภาคีแห่งสนธิสัญญาสามชาติ ชาติใดชาติหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นอันตรายต่อภาคีทั้งสามชาติ และว่า ภาคีแห่งสนธิสัญญานี้แต่ละชาติจะดำเนินการเพื่อเผชิญกับอันตรายร่วมกันนี้ตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของแต่ละชาติภาคี ชาติภาคีได้ตกลงกันด้วยว่าจะเพิ่มศักยภาพการป้องกันร่วมกัน ด้วยการช่วยตนเองและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย
ความสำคัญ กติกาสัญญาแอนซัสนี้ ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดข้องจากการที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่เห็นด้วยกับสนธิสัญญาสันติภาพญี่ปุ่น หลังจากที่ฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ทางการทหารในอินโดจีนเมื่อปี ค.ศ. 1954 แล้วนั้น ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ คือ นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลลัส ได้หาทางขยายสนธิสัญญาฉบับนี้ และได้ให้การปกป้องเอเชียใต้ จากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยการสร้างองค์การ สนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต) ซึ่งเป็นองค์การที่มีขอบข่ายการทำงานกว้างขวางกว่า ถึงแม้ว่าองค์การซีโตจะได้สลายตัวไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 แต่ทว่ากติกาสัญญาแอนซัสนี้ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ต่อไป กติกาสัญญาแอนซัสยังมีตัวช่วยเสริม จากกติกาสัญญาแบบทวิภาคีอีกหลายฉบับ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับชาติเอเชียอีกหลายชาติ คือ กับฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี นอกจากนี้แล้ว กติกาสัญญาแอนซัสนี้ ก็ยังเป็นการให้การรับรองด้วยว่า สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาสวมบทบาทแทนอังกฤษในการสร้างความมั่นคงแก่สองสมาชิกในกลุ่มเครืองจักรภพอีกด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อปี ค.ศ. 1986 สถานภาพของแอนซัสในฐานะเป็นข้อตกลงความเป็นพันธมิตรในการป้องกันร่วมกันได้รับการกระทบกระเทือนจากการไม่สามารถตกลงกันได้ อันสืบเนื่องมาจากนิวซีแลนด์ได้ประท้วงสหรัฐอเมริกาที่นำอาวุธนิวเคลียร์เข้ามาในภูมิภาคนี้
สนธิสัญญาความเป็นพันธมิตรแบบไตรภาคีที่ได้ลงนามกันเมื่อ ค.ศ. 1951 โดยประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เพื่อพิทักษ์ความมั่นคงของภาคพื้นแปซิฟิก สนธิสัญญานี้ ซึ่งยังมีผลบังคับใช้อย่างไม่มีกำหนดเวลา มีข้อกำหนดไว้ว่า การโจมตีต่อภาคีแห่งสนธิสัญญาสามชาติ ชาติใดชาติหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นอันตรายต่อภาคีทั้งสามชาติ และว่า ภาคีแห่งสนธิสัญญานี้แต่ละชาติจะดำเนินการเพื่อเผชิญกับอันตรายร่วมกันนี้ตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของแต่ละชาติภาคี ชาติภาคีได้ตกลงกันด้วยว่าจะเพิ่มศักยภาพการป้องกันร่วมกัน ด้วยการช่วยตนเองและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย
ความสำคัญ กติกาสัญญาแอนซัสนี้ ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดข้องจากการที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่เห็นด้วยกับสนธิสัญญาสันติภาพญี่ปุ่น หลังจากที่ฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ทางการทหารในอินโดจีนเมื่อปี ค.ศ. 1954 แล้วนั้น ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ คือ นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลลัส ได้หาทางขยายสนธิสัญญาฉบับนี้ และได้ให้การปกป้องเอเชียใต้ จากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยการสร้างองค์การ สนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต) ซึ่งเป็นองค์การที่มีขอบข่ายการทำงานกว้างขวางกว่า ถึงแม้ว่าองค์การซีโตจะได้สลายตัวไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 แต่ทว่ากติกาสัญญาแอนซัสนี้ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ต่อไป กติกาสัญญาแอนซัสยังมีตัวช่วยเสริม จากกติกาสัญญาแบบทวิภาคีอีกหลายฉบับ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับชาติเอเชียอีกหลายชาติ คือ กับฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี นอกจากนี้แล้ว กติกาสัญญาแอนซัสนี้ ก็ยังเป็นการให้การรับรองด้วยว่า สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาสวมบทบาทแทนอังกฤษในการสร้างความมั่นคงแก่สองสมาชิกในกลุ่มเครืองจักรภพอีกด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อปี ค.ศ. 1986 สถานภาพของแอนซัสในฐานะเป็นข้อตกลงความเป็นพันธมิตรในการป้องกันร่วมกันได้รับการกระทบกระเทือนจากการไม่สามารถตกลงกันได้ อันสืบเนื่องมาจากนิวซีแลนด์ได้ประท้วงสหรัฐอเมริกาที่นำอาวุธนิวเคลียร์เข้ามาในภูมิภาคนี้
Alliance : Baghdad Pact
ความเป็นพันธมิตร : กติกาสัญญาแบกแดด
ความเป็นพันธมิตรที่จะรักษาสันติภาพและความมั่นคงในตะวันออกกลาง ซึ่งได้ใช้เป็นรากฐานเพื่อการพัฒนาเป็นองค์การสนธิสัญญากลาง (เซ็นโต) กติกาแบกแดดนี้ได้ลงนามกันเมื่อค.ศ. 1955 โดยประเทศอิรักและตุกี และมีประเทศอังกฤษ ปากีสถาน และอิหร่าน ได้ให้ภาคยานุวัติในปีเดียวกันนี้ด้วย สมาชิกทุกชาติของสันนิบาตอาหรับและมหาอำนาจตะวันตกสำคัญ ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการธำรงความมั่นคงในตะวันออกกลางต่างได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นภาคีของกติกาสัญญาฉบับนี้ แต่ก็ไม่มีชาติใดมาร่วมด้วยเลย เมื่อปี ค.ศ. 1959 กติกาสัญญาแบกแดดได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น องค์การสนธิสัญญากลาง (เซ็นโต) ภายหลังจากที่ประเทศอิรักได้ถอนตัวออกมาอย่างเป็นทางการเมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในปี ค.ศ. 1958 ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1979 เกิดการปฏิวัติในอิหร่าน ส่งผลให้อิหร่านถอนตัวออกจากการเป็นภาคี และเกิดการล่มสลายขององค์การเซ็นโตในที่สุด
ความสำคัญ กติกาสัญญาแบกแดดนี้ ได้พัฒนาขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา และได้ใช้เป็น "แนวป้องกันแนวเหนือ" ในด้านตะวันออกกลาง ในระบบเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลก ที่สร้างขึ้นมาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทสหรัฐฯ นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลลัส เพื่อใช้ " ปิดกั้น " การขยายตัวของคอมมิวนิสต์ ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีโดยตรง แต่ก็มีผู้แทนของสหรัฐฯเข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมาธิการเซ็นโตนี้และสหรัฐฯก็ได้ลงนามในกติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคี กับอิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี นอกจากนี้แล้ว สหรัฐอเมริกาก็ยังให้ความสำคัญแก่กติกาสัญญาแบกแดดนี้ โดยได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารและการป้องกันประเทศแก่หมู่ภาคีกติกาสัญญานี้ด้วย ฝ่ายสหภาพโซเวียตได้ประณามกติกาสัญญาแบกแดดและองค์การเซ็นโตว่าเป็นเครื่องมือของพวกจักรวรรดินิยมที่มีเป้าหมายในทางรุกราน ข้อตกลงความเป็นพันธมิตรในทางความมั่นคงฉบับนี้ ตั้งแต่แรกเกิดขึ้นมามีลักษณะอ่อนแอเสียแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะไม่มีรัฐอาหรับต่าง ๆ มาเข้าร่วมเป็นสมาชิกภาพ แม้แต่ปากีสถาน ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกก็ได้หันไปดำเนินนโยบายความเป็นกลางเสียในภายหลัง ส่วนสหภาพโซเวียตได้ลำเลียงอาวุธให้แก่ประเทศอาหรับหลายประเทศ และอังกฤษเองก็ได้หมดอำนาจทางการทหารในตะวันออกกลางโดยสิ้นเชิง
ความเป็นพันธมิตรที่จะรักษาสันติภาพและความมั่นคงในตะวันออกกลาง ซึ่งได้ใช้เป็นรากฐานเพื่อการพัฒนาเป็นองค์การสนธิสัญญากลาง (เซ็นโต) กติกาแบกแดดนี้ได้ลงนามกันเมื่อค.ศ. 1955 โดยประเทศอิรักและตุกี และมีประเทศอังกฤษ ปากีสถาน และอิหร่าน ได้ให้ภาคยานุวัติในปีเดียวกันนี้ด้วย สมาชิกทุกชาติของสันนิบาตอาหรับและมหาอำนาจตะวันตกสำคัญ ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการธำรงความมั่นคงในตะวันออกกลางต่างได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นภาคีของกติกาสัญญาฉบับนี้ แต่ก็ไม่มีชาติใดมาร่วมด้วยเลย เมื่อปี ค.ศ. 1959 กติกาสัญญาแบกแดดได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น องค์การสนธิสัญญากลาง (เซ็นโต) ภายหลังจากที่ประเทศอิรักได้ถอนตัวออกมาอย่างเป็นทางการเมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในปี ค.ศ. 1958 ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1979 เกิดการปฏิวัติในอิหร่าน ส่งผลให้อิหร่านถอนตัวออกจากการเป็นภาคี และเกิดการล่มสลายขององค์การเซ็นโตในที่สุด
ความสำคัญ กติกาสัญญาแบกแดดนี้ ได้พัฒนาขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา และได้ใช้เป็น "แนวป้องกันแนวเหนือ" ในด้านตะวันออกกลาง ในระบบเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลก ที่สร้างขึ้นมาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทสหรัฐฯ นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลลัส เพื่อใช้ " ปิดกั้น " การขยายตัวของคอมมิวนิสต์ ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีโดยตรง แต่ก็มีผู้แทนของสหรัฐฯเข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมาธิการเซ็นโตนี้และสหรัฐฯก็ได้ลงนามในกติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคี กับอิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี นอกจากนี้แล้ว สหรัฐอเมริกาก็ยังให้ความสำคัญแก่กติกาสัญญาแบกแดดนี้ โดยได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารและการป้องกันประเทศแก่หมู่ภาคีกติกาสัญญานี้ด้วย ฝ่ายสหภาพโซเวียตได้ประณามกติกาสัญญาแบกแดดและองค์การเซ็นโตว่าเป็นเครื่องมือของพวกจักรวรรดินิยมที่มีเป้าหมายในทางรุกราน ข้อตกลงความเป็นพันธมิตรในทางความมั่นคงฉบับนี้ ตั้งแต่แรกเกิดขึ้นมามีลักษณะอ่อนแอเสียแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะไม่มีรัฐอาหรับต่าง ๆ มาเข้าร่วมเป็นสมาชิกภาพ แม้แต่ปากีสถาน ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกก็ได้หันไปดำเนินนโยบายความเป็นกลางเสียในภายหลัง ส่วนสหภาพโซเวียตได้ลำเลียงอาวุธให้แก่ประเทศอาหรับหลายประเทศ และอังกฤษเองก็ได้หมดอำนาจทางการทหารในตะวันออกกลางโดยสิ้นเชิง
Alliance : Bilateral Security Pact
ความเป็นพันธมิตร : กติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคี
สนธิสัญญาระหว่าง 2 ชาติ ที่ให้สัญญาว่าจะให้การสนับสนุนทางการทหารแก่กันและกันในกรณีที่มีการโจมตีจากรัฐที่สาม กติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีที่ว่านี้อาจจะเป็นแบบที่ให้ความช่วยเหลือในฉับพลันทันทีและโดยไม่มีเงื่อนไข ในกรณีที่มีการโจมตีต่อประเทศภาคีหนึ่งใด หรืออาจจะเป็นแบบให้ประเทศภาคีได้แต่เพียงขอคำปรึกษาหารือกันเท่านั้นก็ได้ กติกาสัญญาแบบสองฝ่ายนี้อาจจะใช้กับรัฐที่สามที่ทำการโจมตีรัฐภาคี หรืออาจมีการจำกัดในการใช้เฉพาะการโจมตีที่กระทำโดยรัฐนั้นรัฐนี้ตามที่ระบุไว้ในกติกาสัญญานั้นก็ได้
ความสำคัญ กติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการให้หลักประกันจากรัฐมหาอำนาจ ว่าตนจะมาอยู่เคียงข้างกับรัฐอ่อนแอทั้งหลายเมื่อยามที่ตกอยู่ในอันตราย รัฐที่มีอำนาจมากซึ่งดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อรักษาสถานภาพเดิม อาจจะลงนามในกติกาสัญญาความมั่นคงนี้ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้ออ้างหาความชอบธรรมที่จะเข้าแทรกแซงหากความมั่นคงหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐที่อ่อนแอนั้น ๆ ถูกคุกคาม ยกตัวอย่างเช่น ในตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับระบบความมั่นคงขององค์การสนธิสัญญากลาง (เซ็นโต) โดยได้ลงนามในข้อตกลงแบบทวิภาคี กับอิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี ในช่วงทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1950 ส่วนกติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีของสหรัฐอเมริกาฉบับอื่น ๆ ก็ได้แก่ ที่ได้ทำกับฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และสเปน
สนธิสัญญาระหว่าง 2 ชาติ ที่ให้สัญญาว่าจะให้การสนับสนุนทางการทหารแก่กันและกันในกรณีที่มีการโจมตีจากรัฐที่สาม กติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีที่ว่านี้อาจจะเป็นแบบที่ให้ความช่วยเหลือในฉับพลันทันทีและโดยไม่มีเงื่อนไข ในกรณีที่มีการโจมตีต่อประเทศภาคีหนึ่งใด หรืออาจจะเป็นแบบให้ประเทศภาคีได้แต่เพียงขอคำปรึกษาหารือกันเท่านั้นก็ได้ กติกาสัญญาแบบสองฝ่ายนี้อาจจะใช้กับรัฐที่สามที่ทำการโจมตีรัฐภาคี หรืออาจมีการจำกัดในการใช้เฉพาะการโจมตีที่กระทำโดยรัฐนั้นรัฐนี้ตามที่ระบุไว้ในกติกาสัญญานั้นก็ได้
ความสำคัญ กติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการให้หลักประกันจากรัฐมหาอำนาจ ว่าตนจะมาอยู่เคียงข้างกับรัฐอ่อนแอทั้งหลายเมื่อยามที่ตกอยู่ในอันตราย รัฐที่มีอำนาจมากซึ่งดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อรักษาสถานภาพเดิม อาจจะลงนามในกติกาสัญญาความมั่นคงนี้ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้ออ้างหาความชอบธรรมที่จะเข้าแทรกแซงหากความมั่นคงหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐที่อ่อนแอนั้น ๆ ถูกคุกคาม ยกตัวอย่างเช่น ในตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับระบบความมั่นคงขององค์การสนธิสัญญากลาง (เซ็นโต) โดยได้ลงนามในข้อตกลงแบบทวิภาคี กับอิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี ในช่วงทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1950 ส่วนกติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีของสหรัฐอเมริกาฉบับอื่น ๆ ก็ได้แก่ ที่ได้ทำกับฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และสเปน
Alliance : Dunkirk Treaty
ความเป็นพันธมิตร : สนธิสัญญาดันเกิร์ก
กติกาสัญญาความมั่นคงระยะเวลา 50 ปี ที่ลงนามกันโดยอังกฤษกับฝรั่งเศส เมื่อ ปี ค.ศ. 1947 ซึ่งเรียกร้องให้มีการปรึกษาหารือและปฏิบัติการร่วมกันในการต่อต้านการรื้อฟื้นการรุกรานใด ๆ ของเยอรมนี สนธิสัญญาดันเกิร์กว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและการให้ความช่วยเหลือกันและกันนี้ ได้กำหนดให้มีการปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับเรื่องทางการทหาร
ความสำคัญ สนธิสัญญาดันเกิร์กนี้ มีรากฐานมาจากความกลัวที่ถูกกระตุ้นจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่เยอรมนีชอบเข้าครอบงำทวีปยุโรปมาตลอด สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงการกลับมาเป็นมหาอำนาจอีกครั้งหนึ่งของฝรั่งเศส หลังจากที่ได้ประสบกับความหายนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี ค.ศ.1948 สนธิสัญญาดันเกิร์กนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางให้มีการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาบรัสเซลส์ ซึ่งเป็นองค์การที่ได้ขยายการให้ประกันความมั่นคงแบบทวิภาคีให้รวมไปถึงเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1955 องค์การสนธิสัญญาบรัสเซลส์นี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพยุโรปตะวันตก (ดับเบิลยูอียู) และมีเยอรมนีกับอิตาลีเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเข้ามาด้วย ส่วนจุดมุ่งหมายของกติกาสัญญานี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลง จากการป้องปรามเยอรมนี ไปเป็นการปฏิบัติการร่วมกันในกรณีที่ถูกโจมตีจากสหภาพโซเวียต สหภาพดับเบิลยูอียูนี้ได้เป็นตัวการนำไปสู่การขยายองค์การนาโตออกไป โดยให้รับเยอรมนีตะวันตกเข้ามาเป็นสมาชิกภาพด้วย อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาดันเกิร์กนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่จวบจนทุกวันนี้
กติกาสัญญาความมั่นคงระยะเวลา 50 ปี ที่ลงนามกันโดยอังกฤษกับฝรั่งเศส เมื่อ ปี ค.ศ. 1947 ซึ่งเรียกร้องให้มีการปรึกษาหารือและปฏิบัติการร่วมกันในการต่อต้านการรื้อฟื้นการรุกรานใด ๆ ของเยอรมนี สนธิสัญญาดันเกิร์กว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและการให้ความช่วยเหลือกันและกันนี้ ได้กำหนดให้มีการปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับเรื่องทางการทหาร
ความสำคัญ สนธิสัญญาดันเกิร์กนี้ มีรากฐานมาจากความกลัวที่ถูกกระตุ้นจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่เยอรมนีชอบเข้าครอบงำทวีปยุโรปมาตลอด สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงการกลับมาเป็นมหาอำนาจอีกครั้งหนึ่งของฝรั่งเศส หลังจากที่ได้ประสบกับความหายนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี ค.ศ.1948 สนธิสัญญาดันเกิร์กนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางให้มีการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาบรัสเซลส์ ซึ่งเป็นองค์การที่ได้ขยายการให้ประกันความมั่นคงแบบทวิภาคีให้รวมไปถึงเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1955 องค์การสนธิสัญญาบรัสเซลส์นี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพยุโรปตะวันตก (ดับเบิลยูอียู) และมีเยอรมนีกับอิตาลีเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเข้ามาด้วย ส่วนจุดมุ่งหมายของกติกาสัญญานี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลง จากการป้องปรามเยอรมนี ไปเป็นการปฏิบัติการร่วมกันในกรณีที่ถูกโจมตีจากสหภาพโซเวียต สหภาพดับเบิลยูอียูนี้ได้เป็นตัวการนำไปสู่การขยายองค์การนาโตออกไป โดยให้รับเยอรมนีตะวันตกเข้ามาเป็นสมาชิกภาพด้วย อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาดันเกิร์กนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่จวบจนทุกวันนี้
Alliance : Japanese-American Security Treaty
ความเป็นพันธมิตร : สนธิสัญญาความมั่นคงญี่ปุ่น-อเมริกัน
กติกาสัญญาป้องกันแบบทวิภาคี ซึ่งกำหนดให้มีการ ปรึกษาหารือร่วมกัน หากความมั่นคงของญี่ปุ่นถูกคุกคาม สนธิสัญญาความมั่นคงญี่ปุ่น-อเมริกันฉบับเดิมได้มีการลงนามกันเมื่อ ค.ศ. 1951 และได้มีการลงนามสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันฉบับปรับปรุงที่วอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1960 ภายใต้สนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ สหรัฐอเมริกามีสิทธิ์ที่จะคงกำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศไว้ในญี่ปุ่น กองกำลังทั้งสามเหล่านี้อาจจะถูกใช้ (1) เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงในตะวันออกไกลโดยที่ไม่ต้องมีการปรึกษาหารือกันก่อนแต่อย่างใด หรือ (2) เพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากการถูกโจมตีทางกำลังอาวุธ ทั้งนี้ภายหลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือกันเรียบร้อยแล้ว สนธิสัญญานี้ได้ระบุไว้ว่า ปฏิบัติการทางทหารที่ได้กระทำจากฐานทัพต่าง ๆ ของญี่ปุ่นภายนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น "จะต้องมีการปรึกษาหารือกันก่อนกับรัฐบาลญี่ปุ่น"
ความสำคัญ สนธิสัญญาความมั่นคงญี่ปุ่น-อเมริกันนี้ รวมทั้งที่มีการติดอาวุธให้แก่ญี่ปุ่นใหม่ และการให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ แก่หน่วยทหารอเมริกันเข้าไปใช้ญี่ปุ่นเป็นฐานทัพนี้ ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองในญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ.1960 ในช่วงที่จะมีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้ ได้เกิดเหตุจลาจลวุ่นวายขึ้นในญี่ปุ่น ทำให้ประธานาธิบดี ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาว ต้องยกเลิกการเดินทางไปญี่ปุ่นตามกำหนดการเดิม ถึงแม้สภาไดเอต์ของญี่ปุ่นจะให้ความเห็นชอบต่อสนธิสัญญานี้ แต่ก็ได้เกิดเหตุการณ์เดินขบวนประท้วงและการก่อเหตุความรุนแรงของกลุ่มนักศึกษาฝ่ายซ้ายขึ้นเป็นระยะ ๆ ทำให้เรื่องข้อตกลงความมั่นคงญี่ปุ่น - อเมริกันนี้เป็นประเด็นที่ยังคุกรุ่นไม่จางหายไปจากใจคนญี่ปุ่น การที่ต้องให้สหรัฐอเมริกามารับผิดชอบในความมั่นคงของญี่ปุ่นตามที่ระบุไว้ในกติกาสัญญาปี ค.ศ. 1954 นั้น ก็เพราะว่าได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1947 ที่สหรัฐอเมริกาเองก็มีส่วนร่วมให้มีการเขียนด้วย ซึ่งมีข้อความในมาตรา 9 กำหนดให้ญี่ปุ่นประณามการทำสงครามและนิยมทหาร อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาความมั่นคงปี ค.ศ. 1960 ได้สนับสนุนให้ญี่ปุ่นทำการติดอาวุธได้อีกเพื่อป้องกันตนเอง และสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันระหว่างสองชาติเพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ว่านี้ ทุกวันนี้ญี่ปุ่นมีกองกำลังป้องกันตนเองที่มีอานุภาพมาก ประกอบด้วยกองกำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศ
กติกาสัญญาป้องกันแบบทวิภาคี ซึ่งกำหนดให้มีการ ปรึกษาหารือร่วมกัน หากความมั่นคงของญี่ปุ่นถูกคุกคาม สนธิสัญญาความมั่นคงญี่ปุ่น-อเมริกันฉบับเดิมได้มีการลงนามกันเมื่อ ค.ศ. 1951 และได้มีการลงนามสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันฉบับปรับปรุงที่วอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1960 ภายใต้สนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ สหรัฐอเมริกามีสิทธิ์ที่จะคงกำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศไว้ในญี่ปุ่น กองกำลังทั้งสามเหล่านี้อาจจะถูกใช้ (1) เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงในตะวันออกไกลโดยที่ไม่ต้องมีการปรึกษาหารือกันก่อนแต่อย่างใด หรือ (2) เพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากการถูกโจมตีทางกำลังอาวุธ ทั้งนี้ภายหลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือกันเรียบร้อยแล้ว สนธิสัญญานี้ได้ระบุไว้ว่า ปฏิบัติการทางทหารที่ได้กระทำจากฐานทัพต่าง ๆ ของญี่ปุ่นภายนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น "จะต้องมีการปรึกษาหารือกันก่อนกับรัฐบาลญี่ปุ่น"
ความสำคัญ สนธิสัญญาความมั่นคงญี่ปุ่น-อเมริกันนี้ รวมทั้งที่มีการติดอาวุธให้แก่ญี่ปุ่นใหม่ และการให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ แก่หน่วยทหารอเมริกันเข้าไปใช้ญี่ปุ่นเป็นฐานทัพนี้ ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองในญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ.1960 ในช่วงที่จะมีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้ ได้เกิดเหตุจลาจลวุ่นวายขึ้นในญี่ปุ่น ทำให้ประธานาธิบดี ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาว ต้องยกเลิกการเดินทางไปญี่ปุ่นตามกำหนดการเดิม ถึงแม้สภาไดเอต์ของญี่ปุ่นจะให้ความเห็นชอบต่อสนธิสัญญานี้ แต่ก็ได้เกิดเหตุการณ์เดินขบวนประท้วงและการก่อเหตุความรุนแรงของกลุ่มนักศึกษาฝ่ายซ้ายขึ้นเป็นระยะ ๆ ทำให้เรื่องข้อตกลงความมั่นคงญี่ปุ่น - อเมริกันนี้เป็นประเด็นที่ยังคุกรุ่นไม่จางหายไปจากใจคนญี่ปุ่น การที่ต้องให้สหรัฐอเมริกามารับผิดชอบในความมั่นคงของญี่ปุ่นตามที่ระบุไว้ในกติกาสัญญาปี ค.ศ. 1954 นั้น ก็เพราะว่าได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1947 ที่สหรัฐอเมริกาเองก็มีส่วนร่วมให้มีการเขียนด้วย ซึ่งมีข้อความในมาตรา 9 กำหนดให้ญี่ปุ่นประณามการทำสงครามและนิยมทหาร อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาความมั่นคงปี ค.ศ. 1960 ได้สนับสนุนให้ญี่ปุ่นทำการติดอาวุธได้อีกเพื่อป้องกันตนเอง และสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันระหว่างสองชาติเพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ว่านี้ ทุกวันนี้ญี่ปุ่นมีกองกำลังป้องกันตนเองที่มีอานุภาพมาก ประกอบด้วยกองกำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศ
Subscribe to:
Posts (Atom)