ยุทธศาสตร์นิวเคลียร์ : ดุลการคุกคาม
ดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่างสองรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ อันสืบเนื่องมาจากกลัวความพินาศย่อยยับที่จะเกิดขึ้นระหว่างกันในสงครามนิวเคลียร์ ดุลการคุกคามระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตนี้ มีพื้นฐานมาจากการที่ทั้งสองฝ่ายต่างเข้าใจว่า แต่ละฝ่ายมีระบบปล่อยอาวุธนิวเคลียร์หลากหลายแบบที่ทรงอานุภาพในทางทำลายล้างได้อย่างมหาศาล ที่จะไม่สามารถใช้ปฏิบัติการป้องกันมิให้อาวุธเหล่านี้ทำลายบริเวณศูนย์กลางย่านชุมชนของกันและกันได้ เนื่องจากได้รู้ว่าการโจมตีอย่างไม่รู้ตัวก่อนจะไม่สามารถทำลายการป้องกันและขีดความสามารถในการทำลายที่แผ่กระจายออกไปหลายแห่งของอีกฝ่ายหนึ่งได้เลยนี้ เป็นตัวการช่วยเสริมให้เกิดการป้องปรามที่สืบเนื่องมาจากดุลการคุกคาม ยุทธศาสตร์ดุลการคุกคามที่สามารถทำลายในระยะไกลนี้ มีแนวโน้มว่าจะทำให้เกิดความกลัวมากขึ้นแทนที่จะไปเปลี่ยนแปลงความพยายามของทั้งสองฝ่ายที่จะผลิตอาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างมากยิ่งขึ้น และจะผลิตระบบปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ที่มีความแม่นยำเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้นด้วย ในปัจจุบันทั้งสองอภิมหาอำนาจมีหัวรบนิวเคลียร์มีจำนวนรวมกันแล้วก็ประมาณ 60,000 หัว พร้อมกับมีระบบปล่อยหัวรบนิวเคลียร์หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องบินทิ้งระเบิด อาวุธปล่อย เรือดำน้ำ และเรือรบบนผิวน้ำ ดุลการคุกคามนี้มีพื้นฐานจากหลักนิยมความแน่ใจในการทำลายร่วมกัน (แมด)
ความสำคัญ การมีอาวุธที่ทรงอานุภาพในการทำลายล้างร้ายแรงไว้ในคลังแสงจำนวนมาก ๆ เป็นหลักการสำคัญของดุลการคุกคามนี้ ได้ช่วยขจัดโอกาสมิให้ชาติใด ๆ ใช้สงครามเบ็ดเสร็จเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายของรัฐ แต่ก็เป็นการเพิ่มอันตรายอาจทำให้เกิดสงครามโดยมิได้ตั้งใจ (สงครามอุบัติเหตุ)ขึ้นมาได้ ดุลการคุกคามในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงใหม่ ๆ เป็นแบบที่มีพื้นฐานจากอาวุธปรมาณู ได้มีการพัฒนาระเบิดและหัวรบเทอร์โมนิวเคลียร์ที่มีอานุภาพในการทำลายล้างมากกว่าระเบิดปรมาณูที่ทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่นหลายพันเท่า จึงนับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ทำให้การทำสงครามกลายเป็นเครื่องมือที่ไม่น่าพิศมัยที่จะนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองของรัฐ การได้เปรียบโดยการเปรียบเทียบกำลังอำนาจที่ได้มาจากการแข่งขันในการสะสมอาวุธนี้ มิได้เอื้อประโยชน์ที่สำคัญอีกต่อไป เป็นแต่เพียงการเพิ่มศักยภาพในการประหัตประหารให้มากเกินความต้องการยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่งมิได้เปลี่ยนแปลงดุลการคุกคามนี้แต่อย่างไร การพัฒนาการป้องกันเพื่อใช้ต่อต้านระบบปล่อยที่สมบูรณ์ (ซึ่งไม่น่าที่นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางทหารจะสามารถทำได้) จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดุลการคุกคามนี้ได้และเพิ่มอันตรายของสงครามมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ได้ริเริ่มโครงการป้องกันทางยุทธศาสตร์(เอสไอดี)หรือ "สตาร์ วอว์" ขึ้นมา ซึ่งเป็นความพยายามที่จะพัฒนาโล่ป้องกันที่แข็งแกร่งสำหรับใช้ทำลายอาวุธปล่อยจากฝ่ายศัตรูที่จะผ่านเข้ามา อย่างไรก็ดี ภัยคุกคามจากอันตรายที่สามารถสร้างความพินาศย่อยยับทั้งสองฝ่าย มิได้ช่วยป้องกันมิให้เกิดสงครามจำกัด อย่างเช่น สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม เป็นต้น แต่เป็นการไปจำกัดในวิธีการและวัตถุประสงค์ของผู้มีส่วนร่วมในสงครามนั้น
No comments:
Post a Comment