Google

Sunday, October 18, 2009

Nuclear Strategy : Preemptive Strike

ยุทธศาสตร์นิวเคลียร์ : การชิงโจมตีตัดหน้า

การโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรก โดยมีสมมติฐานว่า รัฐศัตรูกำลังวางแผนที่จะโจมตีตนด้วยนิวเคลียร์ในไม่ช้านี้ แนวความคิดในการโจมตีตัดหน้ากันนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมา โดยเจ้าหน้าที่ยุทธวิธีทหารของสหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1950 เพื่อใช้เป็นมาตรการป้องกัน โดยให้ศัตรูเปลี่ยนสถานะจากที่จะเป็นฝ่ายโจมตีครั้งแรกให้กลายเป็นผู้โจมตีโต้กลับที่มีอันตรายน้อยกว่า การชิงโจมตีตัดหน้านี้มีเป้าหมายเพื่อชิงความได้เปรียบจากการโจมตีอย่างไม่รู้ตัว โดยที่กำลังอำนาจของรัฐที่เป็นฝ่ายรุกยังไม่ทันเสียหาย การโจมตีแบบนี้ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษอีกอย่างว่า "spoiling” หรือ "blunting” attack(แปลว่า การทำลายการโจมตี) จะนำมาใช้หลังจากที่ผู้นำรัฐได้รับรายงานข้อมูลทางข่าวกรองเป็นที่แน่ชัดว่า รัฐศัตรูกำลังเตรียมการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อทำการโจมตีอยู่

ความสำคัญ แนวความคิดในเรื่องการชิงโจมตีตัดหน้ากันนี้ มีวิวัฒนาการขึ้นมาในช่วงที่มีการพิจารณาเวลาที่จำเป็นต้องใช้เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เครื่องบินทิ้งระเบิดและการเติมเชื้อเพลิงเหลวให้แก่จรวดที่จะใช้เพื่อประกอบเป็นกำลังโจมตีหลักของรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ ก็จะต้องใช้เวลานานพอสมควร แต่ต่อมาเมื่อได้มีการพัฒนาเป็นสงครามกดปุ่มและด้วยการใช้วิธีปล่อยขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ข้ามทวีปด้วยเชื้อเพลิงแข็ง หมายถึงว่า การโจมตีกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์นี้สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วมากจนเหยื่อเป้าหมายที่จะถูกโจมตีเตรียมการอะไรไม่ทัน ยิ่งไปกว่านั้น การที่ได้มีการกระจายระบบส่งหรือระบบยิงอาวุธนิวเคลียร์ไปไว้ตามที่ต่าง ๆ และมีการดำเนินขั้นตอนหลายอย่างเพื่อป้องกันอาวุธนิวเคลียร์เหล่านั้นจากการถูกทำลายโดยถูกโจมตีอย่างไม่รู้ตัว ก็จะทำให้รัฐที่ถูกโจมตีซึ่งแม้จะมีสภาพยับเยินอย่างไรก็จะสามารถทำการโจมตีโต้กลับรัฐที่โจมตีครั้งแรกนั้นได้ นักวิเคราะห์ทางทหารยังพบว่า การโจมตีแบบชิงตัดหน้านี้อาจเกิดขึ้นได้จากความผิดพลาดทางข้อมูลข่าวกรอง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ มาตรการป้องกันต่าง ๆ ที่แต่ละฝ่ายดำเนินการเพื่อป้องกันตนเองจากการถูกโจมตีอย่างไม่รู้ตัวจากอีกฝ่ายนั้น ก็อาจจะถูกตีความว่าเป็นการเตรียมการโจมตีก็ได้ เมื่อได้มีการพัฒนาในทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างเช่นทุกวันนี้ ก็เป็นการปิดโอกาสที่จะใช้การโจมตีตัดหน้านี้เป็นเครื่องมือที่มีเหตุผลและเชื่อถือยอมรับได้ในการดำเนินนโยบายทางการทหาร

No comments:

Post a Comment