Google

Sunday, October 18, 2009

Alliance : Bilateral Security Pact

ความเป็นพันธมิตร : กติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคี

สนธิสัญญาระหว่าง 2 ชาติ ที่ให้สัญญาว่าจะให้การสนับสนุนทางการทหารแก่กันและกันในกรณีที่มีการโจมตีจากรัฐที่สาม กติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีที่ว่านี้อาจจะเป็นแบบที่ให้ความช่วยเหลือในฉับพลันทันทีและโดยไม่มีเงื่อนไข ในกรณีที่มีการโจมตีต่อประเทศภาคีหนึ่งใด หรืออาจจะเป็นแบบให้ประเทศภาคีได้แต่เพียงขอคำปรึกษาหารือกันเท่านั้นก็ได้ กติกาสัญญาแบบสองฝ่ายนี้อาจจะใช้กับรัฐที่สามที่ทำการโจมตีรัฐภาคี หรืออาจมีการจำกัดในการใช้เฉพาะการโจมตีที่กระทำโดยรัฐนั้นรัฐนี้ตามที่ระบุไว้ในกติกาสัญญานั้นก็ได้

ความสำคัญ กติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการให้หลักประกันจากรัฐมหาอำนาจ ว่าตนจะมาอยู่เคียงข้างกับรัฐอ่อนแอทั้งหลายเมื่อยามที่ตกอยู่ในอันตราย รัฐที่มีอำนาจมากซึ่งดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อรักษาสถานภาพเดิม อาจจะลงนามในกติกาสัญญาความมั่นคงนี้ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้ออ้างหาความชอบธรรมที่จะเข้าแทรกแซงหากความมั่นคงหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐที่อ่อนแอนั้น ๆ ถูกคุกคาม ยกตัวอย่างเช่น ในตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับระบบความมั่นคงขององค์การสนธิสัญญากลาง (เซ็นโต) โดยได้ลงนามในข้อตกลงแบบทวิภาคี กับอิหร่าน ปากีสถาน และตุรกี ในช่วงทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1950 ส่วนกติกาสัญญาความมั่นคงแบบทวิภาคีของสหรัฐอเมริกาฉบับอื่น ๆ ก็ได้แก่ ที่ได้ทำกับฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และสเปน

No comments:

Post a Comment