Google

Sunday, October 18, 2009

War : Rules of Warfare

สงคราม : กติกาสงคราม

หลักการและหลักปฏิบัติในกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของชาติต่าง ๆ ที่ทำการสู้รบกัน กติกาสงครามนี้เดิมทีมีอยู่ในรูปของกฎหมายจารีตประเพณีนับตั้งแต่ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา กฎกติกาเหล่านี้มีรากฐานมาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศแบบพหุภาคีต่าง ๆ เครื่องมือสำคัญที่เป็นตัวกำหนด "กฎหมายสงคราม" และขอบข่ายในการใช้ที่สำคัญมีดังนี้คือ (1)ปฏิญญา-กรุงปารีสปี ค.ศ. 1856 ซึ่งกำหนดให้มีการจำกัดสงครามทางเรือโดยไม่ให้มีการติดอาวุธเรือเอกชนแล้วให้ทำการรบกวนการค้าขายของรัฐคู่สงคราม และมีข้อกำหนดว่าการปิดล้อมทางทะเลจะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายได้นั้นจะต้องเป็นการปิดที่มีประสิทธิผล (2) อนุสัญญากรุงเจนีวาปี ค.ศ. 1964 (แก้ไขปรับปรุงปี ค.ศ. 1906) กำหนดให้มีการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมต่อผู้บาดเจ็บในสนามรบ (3) อนุสัญญากรุงเฮกปี ค.ศ. 1899 ได้ทำการประมวลหลักปฏิบัติในสงครามทางบกหลายเรื่องที่ได้รับการยอมรับแล้ว (4) อนุสัญญากรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ได้แก้ไขปรับปรุงอนุสัญญากรุงเฮกปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของคู่สงคราม ตลอดจนของรัฐและของบุคคลที่เป็นกลาง รวมทั้งมีการประกาศใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ควบคุมอาวุธใหม่ ๆ อย่างเช่นกระสุนปืนหัวตัดเพื่อให้บานได้ แก๊สพิษ และการใช้บอลลูนเพื่อทิ้งระเบิด เป็นต้น (5) อนุสัญญากรุงเจนีวาปี ค.ศ. 1929 กำหนดให้มีการปฏิบัติเป็นอย่างดีต่อเชลยศึก ผู้เจ็บป่วยและผู้บาดเจ็บในสงคราม (6) พิธีสารกรุงลอนดอนปี ค.ศ. 1935 ให้มีการจำกัดการใช้เรือดำน้ำต่อเรือสินค้า และ (7) อนุสัญญากรุงเจนีวาปี ค.ศ.1949 ได้แก้ไขปรับปรุงให้ทันสมัยซึ่งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก คนเจ็บป่วยและคนได้รับบาดเจ็บ และการให้การคุ้มครองแก่พลเรือน นอกจากอนุสัญญาที่กล่าวมานี้ ตลอดจนอนุสัญญาระดับย่อยอื่น ๆ และอนุสัญญาในระดับภูมิภาคเหล่านี้แล้ว คู่สงครามในโลกยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศแบบจารีตประเพณีและกฎหมายมนุษยธรรม ที่มีข้อห้ามมิให้กระทำอย่างโหดร้ายหรือปฏิบัติการอื่นใดอันเป็นการขัดต่อศีลธรรมสาธารณชนที่นอกเหนือไปจากที่ได้มีการระบุไว้ในกฎหมายจารีตประเพณี หรือกฎหมายที่ได้จากสนธิสัญญาเหล่านั้นแล้ว

ความสำคัญ การพัฒนากฎกติกาสงครามนี้ มีรากฐานมาจากข้อสมมติฐานที่ว่า เราไม่สามารถขจัดสงครามได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็ควรทำให้สงครามที่เกิดขึ้นมานั้นมีการยึดหลัก มนุษยธรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ การที่ให้มีกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้จำกัดพฤติกรรมของคู่สงครามในระหว่างการสู้รบกันนี้ ก็เพื่อเป็นการตั้งมาตรฐานขั้นต่ำแก่พฤติกรรมแบบอารยชนที่คู่สงครามจะต้องให้ความเคารพแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลแก่คู่สงครามทั้งสองฝ่าย แต่กฎกติกาสงครามเหล่านี้ ก็มักจะมีการละเมิดกันในช่วงที่การรบกำลังร้อนระอุสุดขีด ในสงครามขัดกันทางด้านอุดมการณ์หรือสงครามชาตินิยม ในสงครามกลางเมืองและสงครามปฏิวัติ ตลอดจนในสงครามที่ต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชาติ ยุทธศาสตร์ของสงครามสมัยใหม่ ก็จะมีการใช้วิธีการทั้งมวลเพื่อทำลายขวัญและกำลังใจของผู้คนทั้งประเทศ โดยวิธีทำลายศักยภาพทางอุตสาหกรรมและศูนย์กลางย่านชุมชนของฝ่ายศัตรูไปพร้อม ๆ กับทำลายกองกำลังของฝ่ายศัตรูในสมรภูมิรบนั้นด้วย กระนั้นก็ดี รัฐต่าง ๆ ที่ทำสงครามกันก็ได้พยายามที่จะเคารพต่อกฎกติกาสงครามส่วนใหญ่ และเมื่อมีการละเมิดกฎกติกาเหล่านี้บ้าง ก็จะถูกนำมาป่าวประกาศให้สาธารณชนได้ทราบกันทั่วมากกว่าการดำเนินการตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเกิดสงครามกองโจรที่มีเหตุจูงใจมาจากการขัดแย้งทางการเมืองและทางอุดมการณ์ขึ้นมาในระหว่างทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1970 และทศวรรษหลังปี ค.ศ.1980 ก็เป็นการคุกคามบ่อนทำลายอุดมคติแห่ง "อารยปฏิปทา" ที่นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนากติกาสงครามที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

No comments:

Post a Comment