Google

Sunday, October 18, 2009

War : Military Government

สงคราม : รัฐบาลทหาร

การนำระบบการปกครองโดยทหารไปใช้กับประชาชนฝ่ายพลเรือนในดินแดนที่ได้มาโดยการยึดครอง ที่ต้องมีการใช้อำนาจการปกครองโดยรัฐบาลทหารนี้ ก็เนื่องมาจากความจำเป็นของกองทัพที่เข้าไปยึดครองดินแดนนั้น และพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติต่อประชาชนในดินแดนที่เข้าไปยึดครองอย่างผู้มีอารยธรรม ถึงแม้ว่ารัฐบาลทหารจะไม่สามารถไปบังคับให้พลเรือนในเขตยึดครองให้กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณได้ แต่ก็สามารถขอให้พวกเขาเชื่อฟังเป็นการชั่วคราวได้ นอกจากนี้แล้วสามารถนำระบบการปกครองแบบทหารนี้ไปใช้ในดินแดนที่ได้ปลดปล่อยในเขตปฏิบัติการทางทหารของตน จนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนขึ้นมาได้ใหม่

ความสำคัญ การใช้การปกครองแบบทหารกับประชาชนในดินแดนที่ได้มาโดยการยึดครองนี้ เป็นเรื่องเก่าแก่มานานควบคู่มากับประวัติของการสงคราม แต่บทบาทของการปกครองแบบนี้ได้มีการขยายออกไปโดยมีการใช้วิธีการต่าง ๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบันนี้ คือ จะต้องไม่ใช้วิธีควบคุมประชาชนในดินแดนยึดครองที่แสดงอาการเป็นศัตรู แต่ควรจะได้ใช้วิธีเอาชนะใจเขาให้หันมาสนับสนุนฝ่ายเราทั้งทางการเมืองและทางอุดมการณ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายพันธมิตรได้เข้าช่วยเหลือชาติฝ่ายอักษะให้จัดตั้งสถาบันทางการเมือง สถาบันทางเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมขึ้นมาใหม่ แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้ชักนำให้พวกเขาได้จัดตั้งสถาบันต่างๆ ที่ยังไม่มีการยอมรับมาก่อนให้เกิดขึ้นมาด้วย ความสำเร็จในนโยบายนี้ได้มีตัวอย่างให้เห็น คือ ทางฝ่ายพันธมิตรตะวันตกได้จัดตั้งรัฐบาลต่าง ๆ ในดินแดนยึดครองของตนโดยยึดแม่แบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ขณะที่ทางฝ่ายสหภาพโซเวียตก็ได้จัดตั้งรัฐบาลต่าง ๆ ในเขตยึดครองของตนโดยยึดแม่แบบการปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์

No comments:

Post a Comment