Google

Sunday, October 18, 2009

Alliance : Southeast Asia Collective Defense Treaty

ความเป็นพันธมิตร:สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กติกาสัญญาความมั่นคงร่วมกัน ที่ได้ลงนามที่กรุงมะนิลาเมื่อ ค.ศ. 1954 ซึ่งเรียกร้องให้ประเทศผู้ลงนามได้ปรึกษาหารือกันและเผชิญอันตรายร่วมกันที่สอดคล้องกับกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของประเทศผู้ลงนามนั้น ๆ สนธิสัญญาฉบับนี้ให้ใช้ได้ทั้งกับการรุกรานจากภายนอกและการบ่อนทำลายภายในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศภาคีของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ได้แก่ ออสเตรเลีย อังกฤษ ฝรั่งเศส นิงซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย และสหรัฐอเมริกา และเพื่อให้หลักประกันของสนธิสัญญานี้เป็นจริงขึ้นมา เมื่อปี ค.ศ. 1955 ประเทศผู้ลงนามทั้งหลายก็ได้สถาปนาองค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ซีโต)ขึ้นมา ให้ทำงานผ่านทางคณะมนตรีและสำนักเลขาธิการ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การที่กรุงเทพฯ เมื่อปี ค.ศ. 1977 องค์การซีโตได้สลายตัวไปแล้ว แต่สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีผลบังคับอยู่ต่อไป ในพิธีสารพิเศษของสนธิสัญญานี้ ได้กำหนดให้ขยายพื้นที่ความมั่นคงออกไปให้ครอบคลุมถึงกัมพูขา ลาว และเวียตนามใต้ แต่สนธิสัญญานี้ไม่ได้รวมเอาฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวันเข้ามาอยู้ด้วย เพราะผู้ลงนามในทวีปเอเชียไม่ประสงค์จะไปรับผิดชอบในการป้องกันสามประเทศหลังนี้

ความสำคัญ สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต้องการจะให้เลียนแบบจากสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต)มาเป็นฉบับเอเชีย ได้ลงนามกันโดยการนำของสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบพันธมิตรทั่วโลก ที่จะปิดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ให้จำกัดอยู่เฉพาะในพรมแดนของประเทศที่มีการปกครองตามระบอบบนี้ไม่ขยายออกไปสู่ประเทศอื่น ถึงแม้ว่าประเทศที่มิได้มีการปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งในเขตเอเชียใต้และเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมในสนธิสัญญานี้ แต่ก็มีเพียงชาติที่พึ่งพาความช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกาในเวลานั้นเท่านั้น คือ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย ที่เข้ามาเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้ ต่อมาพลังแตกแยกที่เคยสร้างความอ่อนแอให้แก่องค์การนาโต ก็ได้มาสร้างความอ่อนแอให้แก่พันธมิตรของสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อินเดียสร้างความไม่พอใจให้แก่ฝ่ายปากีสถาน ส่วนฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตเป็นกลางนั้นก็เป็นเหตุให้เกิดการไม่ลงรอยกันในหมู่พันธมิตร นอกจากนั้นแล้ว อังกฤษ ฝรั่งเศส และปากีสถานได้ปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียตนาม และประเทศผู้ลงนามอื่น ๆ พยายามออกค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด ทำให้ภาระในการรักษาความมั่นคงในเอเชียส่วนใหญ่ตกอยู่กับสหรัฐอเมริกา

No comments:

Post a Comment